เรชัต อาเมตอฟ
เรชัต อาเมตอฟ | |
---|---|
เกิด | 24 มกราคม พ.ศ. 2518 ซิมแฟรอปอล สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน สหภาพโซเวียต |
สาบสูญ | 3 มีนาคม พ.ศ. 2557 (อายุ 39 ปี) จัตุรัสเลนิน ซิมแฟรอปอล สาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมีย ยูเครน |
สถานะ | พบว่าเสียชีวิต 15 มีนาคม พ.ศ. 2557 (39 ปี) |
พบร่าง | แซมเลียนึชแน เขตบีลอฮีสก์ สาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมีย ยูเครน |
สุสาน | สุสานมุสลิมอับดัล ซิมแฟรอปอล |
สัญชาติ | ตาตาร์ไครเมีย |
คู่สมรส | ซารีนา อาเมต (อาเมโตวา) |
บุตร | 3 คน |
เรชัต เมดาโตลู อาเมตอฟ (ตาตาร์ไครเมีย: Reşat Medat oğlu Ametov; รัสเซีย: Решат Медатович Аметов; ยูเครน: Решат Мідатович Аметов; 24 มกราคม พ.ศ. 2518 – 15 มีนาคม พ.ศ. 2557) เป็นนักเคลื่อนไหวชาวตาตาร์ไครเมียที่ได้รับรางวัลวีรบุรุษแห่งยูเครนหลังเสียชีวิต[1][2][3] เขาเป็นพลเรือนยูเครนคนแรกที่เสียชีวิตจากสงครามรัสเซีย–ยูเครน[4][5]
การลักพาตัวและการเสียชีวิต
[แก้]ในวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2557 เรชัตเริ่มการประท้วงอย่างโดดเดี่ยวและสันติเพื่อต่อต้านการยึดครองไครเมียโดยกองทัพรัสเซีย ระหว่างที่เขายืนประท้วงหน้าอาคารที่ทำการรัฐบาลไครเมียในเมืองซิมแฟรอปอลอยู่นั้น เขาถูกชายไม่ระบุตัวตนสามคนในเครื่องแบบสมาชิก "หน่วยป้องกันตนเองไครเมีย" (ซึ่งเป็นกองกำลังที่สนับสนุนรัสเซีย) ลักพาตัวขึ้นรถไป[1]
ต่อมาเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2557 ตำรวจพบศพเรชัตในป่าแห่งหนึ่งใกล้หมู่บ้านแซมเลียนึชแนในเขตบีลอฮีสก์ ห่างจากเมืองซิมแฟรอปอลไปทางทิศตะวันออกประมาณ 60 กิโลเมตร ศพมีร่องรอยการถูกทรมาน ศีรษะและปากถูกมัดด้วยเทปกาว ดวงตาถูกควักออก[6] ขาถูกล่าม และมีกุญแจมือตกอยู่ข้างศพ เรฟัต อาเมตอฟ พี่ชายของเรชัต ระบุว่าสาเหตุการเสียชีวิตของน้องชายมาจากบาดแผลที่ถูกมีดหรือวัตถุปลายแหลมแทงเข้าที่ดวงตา[7] ทุกวันนี้คดีฆาตกรรมเรชัตยังไม่ได้รับการคลี่คลาย[2][8]
ร่างของเรชัตได้รับการฝังเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2557 ที่สุสานมุสลิมอับดัลแห่งซิมแฟรอปอล เขากับซารีนาผู้เป็นภรรยามีลูกด้วยกันสามคน[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Najibullah, Farangis (18 March 2014). "Crimean Tatar Community Mourns Death Of Tortured Local Activist". rferl.org. Radio Free Europe; Radio Liberty. สืบค้นเมื่อ 18 September 2014.
- ↑ 2.0 2.1 Shishkin, Philip (18 March 2014). "Killing of Crimean Tatar Activist Raises Fears in Community". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 18 September 2014.
- ↑ Scott, Simon (22 March 2014). "A Tatar's Death Chills Those Who Suffered Under Russia Before". npr.org. National Public Radio. สืบค้นเมื่อ 18 September 2014.
- ↑ Пивоваров, Сергій (18 May 2017). "Порошенко присвоїв звання Героя України закатованому в Криму Решату Аметову" (ภาษายูเครน). hromadske.ua. hromadske. สืบค้นเมื่อ 31 May 2017.
- ↑ Бутусов, Юрій (3 March 2017). "Три года назад погиб первый украинец, убитый агрессорами РФ, вторгшимися в Украину" (ภาษารัสเซีย). Цензор.НЕТ. Цензор.НЕТ. สืบค้นเมื่อ 21 March 2017.
- ↑ Давыдова, Оксана; Аннитова, Инна (3 March 2016). "Решат Аметов – символ борьбы 2014 года в Крыму" (ภาษารัสเซีย). ru.krymr.com. Крым.Реалии. สืบค้นเมื่อ 3 March 2016.
- ↑ Editorial, 15min.org (8 April 2014). "Reshat Ametov's cause of death became known" (ภาษารัสเซีย). 15min.org. 15min.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 September 2014. สืบค้นเมื่อ 18 September 2014.
- ↑ Coynash, Halya (20 August 2014). "Putin's Soviet 'therapy' for Crimea". aljazeera.com. Al Jazeera. สืบค้นเมื่อ 18 September 2014.
- ↑ Çauş, Mustafa (15 July 2014). "Zarina Ametova: All that I want is my husband's killers to be found" (ภาษาตุรกีไครเมีย). ktat.krymr.com. Qırım.Aqiqat. สืบค้นเมื่อ 18 September 2014.